วันอาทิตย์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2553

บทที่ 3 วิธีการดำเนินโครงงาน

วิธีการดำเนินโครงงาน

       การจัดทำโครงงานหม้อก๋วยเตี๋ยวอัตโนมัติ ผู้จัดทำโครงงานจัดทำเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้งานและเพื่อให้ผู้ใช้งานได้ใช้ประโยชน์จากการใช้งานได้ทันเวลาและหม้อก๋วยเตี๋ยวแบบอัตโนมัติสามารถใช้งานได้จริงซึ่งมีวิธีดำเนินการตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
              1. ศึกษาเอกสารและทฤษฏีที่เกี่ยวข้อง
              2. ศึกษาหลักการและแนวทางในการออกแบบ
              3. ดำเนินการออกแบบตามแนวทางที่ดำเนินไว้
              4. ปฏิบัติการสร้างโครงงานตามแผนที่วางไว้
              5. ทดสอบและปรับปรุงโครงงาน
              6. การประเมินโครงงาน
              7. นำเสนอโครงงาน

1. ศึกษาเอกสารและทฤษฏีที่เกี่ยวข้อง

       สมัยก่อนเราได้ใช้เตาถ่านในการต้มน้ำซุปและน้ำลวกเส้นก๋วยเตี๋ยว ซึ่งเตาถ่านจะต้องใช้ถ่านในปริมาณที่มากเพื่อที่จะเพิ่มและคงความร้อนให้แก่น้ำในหม้อต้ม ก่อให้เกิดการสิ้นเปลืองและเป็นการเพิ่มต้นทุนให้สูงขึ้นอีกด้วยซึ่งปัจจุบันได้มีการพัฒนามาใช้เตาแก๊สหุงต้มมีลักษณะของการใช้เชื้อเพลิงที่เป็นก๊าซบรรจุถัง และมีวาวน์ปิด-เปิด ในการใช้งานทำให้ผู้ประกอบการได้รับความสะดวกสบายความรวดเร็วและยังมีต้นทุนที่ต่ำกว่าการใช้เตาถ่านอีกด้วยแต่เตาทั้ง 2 ชนิดนี้ยังคงต้องทำหน้าที่ในการติดไฟทำให้น้ำซุปและน้ำลวกเส้นก๋วยเตี๋ยวให้ร้อนอยู่ตลอดเวลาจึงก่อให้เกิดการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง
       ดังนั้นความสำคัญของการต้มน้ำซุปก๋วยเตี๋ยวอาจน้ำให้ต้องสิ้นเปลื้องเชื้อเพลิงและเสียเวลาในการต้มนำซุป จึงคิดค้นหม้อก๋วยเตี๋ยวอัตโนมัติเพื่อประหยัดเวลาในการทำงานและยังช่วยประหยัดเชื้อเพลิงในการทำก๋วยเตี๋ยว จึงได้จัดทำหม้อก๋วยเตี๋ยวอัตโนมัติขึ้น
2. ศึกษาหลักการและแนวทางในการออกแบบ

       การจัดทำโครงงานหม้อก๋วยเตี๋ยวแบบอัตโนมัติผู้จัดทำโครงงานได้ศึกษาหลักการและแนวทางในการออกแบบ

ศึกษาหลักการ

       การจัดทำโครงงานหม้อก๋วยเตี๋ยวแบบอัตโนมัติผู้จัดทำโครงงานได้ศึกษาหลักการจัดทำหม้อก๋วยเตี๋ยวอัตโนมัติ ซึ่งมีหลักการทำงาน วัสดุอุปกรณ์ดังนี้

       หลักการทำงานของหม้อก๋วยเตี๋ยวอัตโนมัติ

              เมื่อหม้อก๋วยเตี๋ยวเกิดความร้อนเซนเซอร์ความร้อนจะทำงานไปที่เตาแก็สทำให้เกิดการตัดไฟโดยอัตโนมัติและเมื่อหม้อก๋วยเตี๋ยวเกิดความเย็นลงเตาแก็สจะเปิดไฟเองโดยอัตโนมัติ

วัสดุอุปกรณ์

       1. หม้อก๋วยเตี๋ยว 2 ช่อง 1 หม้อ
       2. เตาแก็ส 1 เตา
       3. เฟืองทดกำลัง 1 อัน
       4. เหล็กรู 1 ตัว
       5. น็อต 10 ตัว
       6. มอเตอร์ DC. 1 ตัว
       7. กล่องคุมมอเตอร์ DC. 12 v 1 ตัว
       8. หม้อแปลงไฟฟ้า AC. เป็น DC. 12 v 1 ตัว
       9. เซนเซอร์จับความร้อน 1 ตัว
      10. สวิตซ์ปิดเปิด 1 ตัว
      11. เฟืองมอเตอร์ 1 ตัว
      12. สายไฟ 1 ชุด
วิธีทำ

       1. เตรียมอุปกรณ์
       2. นำเฟืองขับวาวน์และเฟืองทดรอบมาติดที่รูที่เจาะไว้ที่หน้าเตาแก๊สทั้ง 2 รู
       3. นำมอเตอร์ DC. มาติดข้างในของเตาแก๊ส
       4. นำกล่องคุมมอเตอร์ DC. พร้อมกับนำหม้อแปลงไฟฟ้า AC. เป็น DC. มาติดข้างในของเตาแก๊สให้ตรงกับเฟืองทดรอบข้างหน้าของเตาแก๊ส
      5. นำเซนเซอร์จับความร้อนมาติดไว้กับหม้อก๋วยเตี๋ยวให้อยู่กึ่งกลางของหม้อก๋วยเตี๋ยว
      6. นำกล่องเหล็กมาปิดเฟืองทดรอบเพื่อไม่ไห้เป็นอันตรายต่อผู้ใช้งาน
      7. นำสวิตซ์ปิดเปิดมาใส่ตรงหน้ากล่องที่ปิดเฟืองทดรอบเพื่อสามารถเร่งแก๊สได้และทำการทดลอง
      8. นำปลั๊กมาติดไว้กับสายเซนเซอร์ความร้อน

ศึกษาแนวทาง

แนวทางในการออกแบบของหม้อก๋วยเตี๋ยวอัตโนมัติได้วางแนวทาง ดังนี้

       1. ใช้หม้อก๋วยเตี๋ยวขนาดเล็กและเตาแก็สขนาด 30*39*9 cm.
       2. ใช้ตัวเซนเซอร์ความร้อน 1 ตัวเพื่อใช้จับความร้อน
       3. ใช้แผงควบคุมมอเตอร์และกล่องมอเตอร์เพื่อควบคุมการทำงานของเตาแก๊ส
       4. ใช้เฟืองทดกำลังและเฟืองมอเตอร์เพื่อใช้ในการขับวาวน์ของเตาแก๊ส
       5. ใช้สวิตซ์ปิดเปิดเพื่อสามารถเพิ่มความแรงของแก๊สได้
3. ดำเนินการออกแบบตามแนวที่ดำเนินไว้

หม้อก๋วยเตี๋ยวอัตโนมัติได้ออกแบบตามแนวทางที่วางแผน ดังนี้

รูปที่ 3.1 ข้างซ้าย


รูปที่ 3.2 ด้านขวา


รูปที่ 3.3 ด้านหน้า


รูปที่ 3.4 ด้านหลัง

รูปที่ 3.5ด้านบน


รูปที่ 3.6ด้านล่าง


4. ปฏิบัติการสร้างโครงงาน

        วิธีการดำเนินงาน

        1. เตรียมอุปกรณ์



รูปที่ 3.7 การเตรียมอุปกรณ์


        2. นำเฟืองขับวาวน์และเฟืองทดรอบมาติดที่รูของหน้าเตาแก๊สทั้ง 2 รู


รูปที่ 3.8 การนำเฟืองขับวาวน์และเพืองทดรอบมาติด

       3. นำมอเตอร์ DC. มาติดข้างในของเตาแก๊ส


รูปที่ 3.9 การนำมอเตอร์ DC. มาติด

       4. นำกล่องคุมมอเตอร์ DC. พร้อมกับนำหม้อแปลงไฟฟ้า AC. เป็น DC. มาติดข้างในของเตาแก๊สให้ตรงกับเฟืองทดรอบข้างหน้าของเตาแก๊ส


รูปที่ 3.10 การนำกล่องคุมมอเตอร์ DC. พร้อมกับนำหม้อแปลงไฟฟ้า AC. เป็น DC. มาติด



       5. นำเซนเซอร์จับความร้อนมาติดไว้กับหม้อก๋วยเตี๋ยวให้อยู่กึ่งกลางของหม้อก๋วยเตี๋ยว


รูปที่ 3.11 การนำเซนเซอร์จับความร้อนมาติดไว้กับหม้อก๋วยเตี๋ยว

       6. นำกล่องเหล็กมาปิดเฟืองทดรอบเพื่อไม่ไห้เป็นอันตรายต่อผู้ใช้งาน


รูปที่ 3.12 นำกล่องเหล็กมาปิดเฟืองทดรอบ


    7. นำสวิตซ์ปิดเปิดมาใส่ตรงหน้ากล่องที่ปิดเฟืองทดรอบเพื่อสามารถเร่งแก๊สได้และทำการทดลอง



รูปที่ 3.13 นำสวิตซ์ปิดเปิดมาใส่ตรงหน้ากล่อง

      8. นำปลั๊กมาติดไว้กับสายเซนเซอร์ความร้อน


รูปที่ 3.14 นำปลั๊กมาติดไว้กับสายเซนเซอร์ความร้อน

5. ทดสอบและปรับปรุง

       ทดสอบ

              1. ทดสอบระบบการทำงานเดิมของเตาแก๊ส
              2. ทดสอบเซนเซอร์ความร้อน
              3. ทดสอบการทำงานของมอเตอร์ DC.

      ปรับปรุง

             1. จากการทดสอบระบบการทำงานเติมของเตาแก๊ส ทำให้ทราบว่า การทำงานของตัวเร่งไฟไม่ได้ทำงานแบบอัตโนมัติ จึงต้องทำการปรับการทำงานของระบบเตาแก็สให้เร่งหรือเร่งความร้อนได้อย่างอัตโนมัติ
             2. จากการทดสอบเซนเซอร์ความร้อนทำให้ทราบว่า การทำงานของเซนเซอร์ความร้อนต้องมีระดับที่เท่ากับน้ำในหม้อก๋วยเตี๋ยวหรือน้อยกว่า จึงต้องทำการปรับการทำงานของเซนเซอร์ให้อยู่ในระดับที่พอดีกับน้ำในหม้อก๋วยเตี๋ยวให้เซนเซอร์ทำงานได้อย่างอัตโนมัติ
            3. จากการทดสอบมอเตอร์ DC. ทำให้ทราบว่า การทำงานไม่สมบูรณ์เนื่องจากมอเตอร์ DC.ยังไม่มีการควบคุมการทำงาน จึงต้องปรับการทำงานโดยใช้กล่องควบคุมมอเตอร์มาช่วยในการทำงานด้วย

6. การประเมินโครงงาน

       ในการทำโครงงานหม้อก๋วยเตี๋ยวอัตโนมัติได้ใช้แบบประเมินโครงการดังนี้
            1. แบบประเมินขณะทำโครงการ
            2. แบบประเมินนำเสนอผลงาน
            3. แบบประเมินผลงานโดยรวม
            4. แบบประเมินการเขียนและนำเสนอเค้าโครงโครงงาน
            5. แบบประเมินรูปเล่มรายงาน
            6. แบบประเมินการแก้ไขโครงงาน
            7. แบบสรุปคะแนนรวม
            8. แบบประเมินการจัดแสดงโครงงาน

7. นำเสนอโครงงาน

       วันพฤหัสบดี ที่ 1 เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2553


รูปที่ 3.15 แสดงการนำเสนอในบทที่ 1

       วันที่อังคาร ที่ 3 เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2553


รูปที่ 3.16 แสดงการนำเสนออุปกรณ์ภายในหม้อก๋วยเตี๋ยวพร้อม power point

       วันพฤหัสบดี ที่ 1 เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2553


รูปที่ 3.17 แสดงการนำเสนอในบทที่ 3 และอุปกรณ์ภายในหม้อก๋วยเตี๋ยว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น